skip to main content

วิสัยทัศน์ของเทมเปิล: การผลิตเนื้อสัตว์ที่มีมนุษยธรรมกว่าเดิม 

เมื่อดอกเตอร์ เทมเปิล แกรนดินสร้างแผนงานที่ได้รับรางวัลสำหรับโรงงานผลิตเนื้อวัวอันทันสมัยขึ้น องค์กรแรกที่ทำให้แผนนี้เป็นจริงคือคาร์กิลล์ 

January 01, 2015

ในปี 1991 ดอกเตอร์เทมเปิล แกรนดินเข้ามาที่บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับเนื้อของคาร์กิลล์พร้อมกับข้อเสนอหนึ่ง ผู้เขียนหนังสือและศาสตราจารย์ด้านสัตวศาสตร์ ซึ่งได้รับการนับถือกันในวงกว้างว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของโลกด้านการจัดการสัตว์อย่างมีมนุษยธรรม มีแนวคิดเกี่ยวกับระบบการจัดการปศุสัตว์ที่ดีขึ้น ซึ่งความเชื่อมโยงกับสัตว์มานานตลอดชีวิตของเธอเป็นแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดโครงการดังกล่าว

ขณะที่มีอายุได้สี่ปี แกรนดินได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคออทิสติกรูปแบบหนึ่ง ทำให้เธอรับรู้โลกผ่านภาพและสัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งเหมือนกับสัตว์อย่างมาก การได้สัมผัสกับคอกปศุสัตว์ของป้าในช่วงต้นชีวิตและการศึกษาของเธอช่วยให้เธอริเริ่มสร้างพื้นที่สำหรับสัตว์ที่ยังมีชีวิตในโรงงานผลิตเนื้อสัตว์ โดยมุ่งเน้นไปที่การจัดการปศุสัตว์ในธุรกิจเนื้อวัวทั่วทั้งสหรัฐอเมริกา การค้นพบของเธอนำไปสู่การปรับปรุงต่างๆ ตั้งแต่วิธีรับปศุสัตว์เข้าโรงงานเป็นครั้งแรกจนถึงวิธีจัดวาง เคลื่อนย้าย และวิธีเก็บเกี่ยวผลผลิต

แผนงานของแกรนดินยังรวมถึงคอกเลี้ยงชั่วคราวที่ทำเป็นรูปกระดูกปลาเฮอร์ริงที่มีทางเดินอยู่ตรงกลางด้วย ซึ่งคอกดังกล่าวจะช่วยให้สัตว์มีน้ำและพื้นที่สำหรับผ่อนคลายหลังจากรถบรรทุกพามาถึง นอกจากนั้นแล้ว ทางเดินเข้าโรงงานที่กว้างและได้รับการปรับปรุงให้มีกำแพงโค้งคล้ายงูเลื้อยที่สูงและมั่นคงมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้บรรดาสัตว์เคลื่อนตัวไปข้างหน้าได้ต่อเนื่องและปราศจากสิ่งรบกวน และเพราะทราบดีว่าโดยธรรมชาติแล้ววัวจะเคลื่อนที่จากที่มืดไปยังที่ที่มีแสงสว่าง เธอจึงได้ติดอุปกรณ์ติดตั้งไว้เพื่อช่วยนำวัวให้เคลื่อนที่จากพื้นที่หนึ่งไปยังพื้นที่ถัดไป

ทั้งหมดนี้ส่งผลให้กระบวนการต่างๆ ราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดีกว่าสำหรับสัตว์ และปลอดภัยกว่าสำหรับคนงานในโรงงาน คาร์กิลล์คือเจ้าแรกที่นำวิธีของแกรนดินมาใช้ และเห็นการพัฒนาต่างๆ ขึ้นในทันที ทั้งกระบวนการผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์

หลังจากการขับเคลื่อนโปรแกรมดังกล่าว คาร์กิลล์นำการออกแบบที่ปรับปรุงใหม่ไปปรับใช้กับโรงงานผลิตเนื้อวัวและเนื้อสุกรของบริษัทที่มีอยู่ในอเมริกาเหนือทั้งหมด ซึ่งเป็นการตั้งมาตรฐานใหม่ให้กับการจัดการปศุสัตว์อย่างมีมนุษยธรรม ความสำเร็จที่ได้นั้นยิ่งใหญ่มาก ทั้งสำหรับคาร์กิลล์ที่เป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบ และสำหรับแกรนดินผู้มีความคิดสร้างสรรค์สำหรับอุตสาหกรรม

ดอกเตอร์ไมค์ ซีเมนส์ ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกสงเคราะห์สัตว์และความพยายามด้านปศุสัตว์ของคาร์กิลล์จากเมืองวิชิต้า รัฐแคนซัส กล่าวว่า“ที่คาร์กิลล์นั้น เราได้ทำงานกับเทมเปิลมาเป็นเวลานาน และผมเชื่อว่าธุรกิจของเรา ลูกค้าของเรา เหล่าซัพพลายเออร์และพนักงานของเราต่างก็เป็นผู้ได้รับผลประโยขน์จากสัมพันธภาพในการทำงานนั้น” “โลกของเราเป้นสถานที่ที่น่าอยู่ขึ้นเพราะงานของเทมเปิล และเรารู้สึกเป็นเกียรติและได้รับสิทธิพิเศษที่สามารถพูดได้ว่าเราร่วมงานกับเธอเพื่อให้แน่ใจว่า อุตสาหกรรมจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและวัดความก้าวหน้าเมื่อเวลาผ่านไปได้

“โลกของเราเป็นสถานที่ที่น่าอยู่ขึ้นเพราะงานของเทมเปิล”
— ดอกเตอร์ไมค์ ซีเมนส์ ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกสงเคราะห์สัตว์และการปศุสัตว์ คาร์กิลล์ กล่าว

ความก้าวหน้านั้นได้ขยายตัวไปนอกอเมริกาเหนือ ไปจนถึงบรรดาสัตว์ต่างๆ ในโรงงานผลิตทั่วโลก

ทุกวันนี้ แกรนดินยังคงทำหน้าที่เป็นศาสตราจารย์ด้านสัตวศาสตร์ในมหาวิทยาลัยโคโลราโดสเตตและเดินทางไปทั่วโลกเพื่อบรรยายเกี่ยวกับออทิสซึมและการจัดการสัตว์อย่างมีมนุษยธรรม ในปี 2010 นิตยสารไทม์ยกย่องเธอเป็นหนึ่งใน 100 คนที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก ความสำเร็จของแกรนดินยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับภาพยนตร์ชีวประวัติเรื่อง เทมเปิล แกรนดิน ของช่อง HBO ซึ่งได้รับคำชมต่างๆ ทั้งในงานรับรางวัลเอ็มมีและลูกโลกทองคำอีกด้วย ดาราหญิง แคลร์ เดนส์ รับบทเป็นแกรนดิน