skip to main content

ท่าเรือนอกชายฝั่งแห่งแรกของโลก

ในการขนส่งปุ๋ยอินทรีย์ราคาถูกให้แก่เกษตรกรยังฝั่งอินเดีย คาร์กิลล์เลี่ยงใช้ท่าเรือราคาแพง ซึ่งมีแท่นลอยน้ำที่คอยรับเรือขนส่งขนาดใหญ่ที่ต้องจอดห่างจากชายฝั่ง

January 01, 2015

คุทช์ ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของอินเดีย จะมีทั้งช่วงระยะฝนตกหนักมากและช่วงแล้งหนักมาก ทำให้ตลาดการเกษตรนั้นไม่คงที่ ในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้มีที่ดินไม่มากในเมืองคุทช์ในช่วงฤดูแล้ง คาร์กิลล์เริ่มนำเข้าปุ๋ยอินทรีย์ปริมาณมหาศาลจากเมืองแทมปา รัฐฟลอริดา ให้แก่เมืองนั้นในช่วงปี ค.ศ 1990

ปี ค.ศ 1998 บริษัทได้จัดให้ท่าเรือในเมืองโรซี่ แคว้นจามนาเกอร์ เป็นสถานที่ขนถ่ายสินค้าที่สมบูรณ์แบบ เพื่อขยายธุรกิจปุ๋ยอินทรีย์ แต่ท่าเรือนั้นไม่ลึกพอให้เรือขนส่งสินค้าพานาแม็กซ์ เทียบท่าได้ เรือเดินสมุทรขนาดใหญ่นั้นไม่ได้ถูกออกแบบให้เทียบท่าในความกว้างและลึกเพียงขนาดคลองปานามาได้

ในขณะที่ท่าเรือน้ำลึกอื่นๆ ในอินเดีย ต่างก็มีท่อนซุงขนาดใหญ่ลอยไว้ และเป็นแท่นเทียบแบบสมัยเก่า ซึ่งทั้งสองแบบนั้นต่างก็สร้างความลำบากและต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงหากจะให้รับสินค้าปริมาณมหาศาลได้

เมื่อพบปัญหาจากเมืองโรซี่ คาร์กิลล์จึงหาแนวทางแก้ปัญหานั้น โดยมองเป็นความท้าทาย บริษัทได้พัฒนาโครงสร้างแท่นเทียบเรือ โดยออกแบบแท่นลอยให้เชื่อมกับท่าเรือกับความลึกของระดับน้ำมากขึ้น เพื่อให้เรือขนาดใหญ่สามารถเทียบท่าได้ แท่นเทียบขนาดใหญ่ของคาร์กิลล์เปิดตัวครั้งแรกในปี ค.ศ 1998 ปีเดียวกันนั้นเอง โดยใช้ชื่อว่า โรซี่ ไพโอเนียร์ แท่นเทียบใช้งานร่วมกับปั้นจั่นที่บรรทุกสินค้าอาหารแห้งได้มากกว่า 55,000 ตัน ขณะเดียวกันก็ใช้บรรทุกสินค้าอื่นๆ เพื่อส่งออกได้ แท่นเทียบลอยห่างจากฝั่ง 5 ไมล์ สินค้าถูกขนลงมาจากเรือบรรทุกขนาดใหญ่ไปไว้ในเรือท้องแบนลำเลียงสินค้าขนาดเล็กลงมา จากนั้นก็ข้ามฝากมายังชายฝั่งเพื่อจำหน่ายบนทางบกต่อไป

แท่นโรซี่ ไพโอเนียร์ ทำให้การขนส่งปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงแก่เกษตรกรฝั่งอินเดียมีประสิทธิภาพสูง นอกจากจะลอยเทียบได้ทุกที่แล้ว แท่นนั้นยังสามารถส่งและบรรทุกสินค้าอาหารแห้งได้ทั้งหมด 800,000 ตันในแต่ละปี การใช้ท่าเรือลอยน้ำนี้เป็นทางเลือกที่มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการขุดลอก ซึ่งเป็นเทคนิคการสร้างท่าเรือโดยขุดแหล่งน้ำให้ลึกขึ้นโดยใช้เครื่องจักร นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพมากในเรื่องการใช้พลังงานต่ำกว่าการใช้อุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าบนบกถึง 70%

จากความสำเร็จนี้ การใช้เรือท้องแบนลำเลียงสินค้าจึงเป็นแรงบันดาลใจใหม่แก่ท่าเรือต่างๆ ทั่วโลก ในปี ค.ศ 2008 คาร์กิลล์ได้ติดตั้งท่าเรือลอยน้ำแห่งที่ 2 ที่เมืองเช็กเกีย ติดทางใต้ของกรุงเวนิส ประเทศอิตาลี เพื่อนำผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรส่งไปยังเกษตรกรในแถบชานเมืองของประเทศ

Rozy Port Floating Barge Inpage ความสำเร็จของ โรซี่ ไพโอเนียร์ เป็นแรงบันดาลให้เกิดท่าเรือลอยน้ำแห่งที่ 2 ซึ่งลอยห่างออกจากชายฝั่งประเทศอิตาลี ทำให้กระบวนการขนส่งสินค้าไปยังแถบชานเมืองของประเทศนั้นดียิ่งขึ้น