skip to main content

การฟื้นฟูหลังจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ

เมื่อภัยธรรมชาติเข้าทำลายชุมชนต่างๆ ในท้องถิ่น คาร์กิลล์เข้าประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อทำการเยียวยาและนำกระบวนการฟื้นฟู

January 01, 2015

พายุเฮอร์ริเคนแคททรีนาซึ่งเข้าโจมตีชายฝั่งอ่าวเมื่อวันที่ 29 สิงหาคมปี 2005 เป็นพายุเฮอร์ริเคนที่มีความรุนแรงที่สุดอันดับเจ็ดเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ของฝั่งแอตแลนติก ซึ่งได้คร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ 1,800 คนในประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากเหตุการณ์พายุถล่ม ไฟฟ้าถูกตัดขาด โทรศัพท์มือถือไม่ทำงาน และถนนก็มีน้ำท่วม สำนักงานต่างๆ ปิดตัวลง และผู้คนสูญเสียบ้านของพวกเขาจากความเสียหายที่เกิดจากลม ต้นไม้ล้ม น้ำท่วม และเชื้อรา

สำหรับคนหลายๆ คน สิ่งที่พายุแคททรีนาหลงเหลือไว้คือโลกที่ตื่นกลัว การขาดแคลนอาหารและน้ำสะอาด กระทั่งความย่อหย่อนของการบังคับใช้กฎหมาย ในบรรดาผู้ที่ได้รับผลกระทบก็คือพนักงานคาร์กิลล์หลายร้อยคนที่ทำงานในเจ็ดแห่งทั่วอลาบามา เท็กซัส หลุยส์เซียนา และมิสซิสซิปปี

“แม้ว่าคาร์กิลล์โชคดีมากที่ โดยส่วนใหญ่แล้ว ไม่ได้รับความเสียหายโดยตรงของพายุแคททรีนา ช่วงเวลาแห่งการฟื้นฟูสำหรับเหล่าพนักงานและธุรกิจต่างๆ ของเราในพื้นที่ชายฝั่งอ่าวก็มีความท้าทาย และต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมาก”
—แถลงการณ์ร่วมโดย วอร์เรน สเตลีย์ ประธานกรรมการบริหารของคาร์กิลล์ และ เกรก เพจ ประธานของคาร์กิลล์

ทันใดนั้นเอง ธุรกิจธัญพืชและพืชน้ำมันของคาร์กิลล์ได้เน้นไปที่การค้นหาพนักงานที่สาบสูญซึ่งกระจัดกระจายกันไปจากพายุ ปฏิบัติการเพื่อการฟื้นฟูระบบลำเลียงส่งออกธัญพืชที่มีความสำคัญมากสองระบบของบริษัท ที่เวสท์วีโกและที่แห่งสำรอง ก็เป็นภารกิจหลักอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญ พายุได้เข้าโจมตีขณะกำลังเริ่มฤดูเก็บเกี่ยวประจำฤดูใบไม้ร่วงในภาคเหนือพอดี ซึ่งต้องลำเลียงพืชผลสำหรับส่งออกปริมาณมากไปตามแม่น้ำมิสซิสซิปปีไปยังหลุยส์เซียนา

คาร์กิลล์ได้กลายเป็นแหล่งข้อมูลหลักสำหรับหน่วยงานรัฐบาลในทันที ซึ่งรวมถึงกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (USDA) และสำนักจัดการภาวะฉุกเฉินส่วนกลาง (FEMA) ด้วยความตระหนักว่าอุตสาหกรรมการส่งออกธัญพืชมีความสำคัญต่อลูกค้าเกษตรกรหลายพันคนทั่วประเทศ ทั้ง USDA และ FEMA จึงได้ให้ความสำคัญในการช่วยเหลือบริษัทต่างๆ ให้เข้ามาทำการส่งออกสินค้าเกษตร

หลังจากเกิดพายุเฮอร์ริเคน มีความจำเป็นที่มีความสำคัญและเป็นที่ต้องการอย่างกว้างขวางเกิดขึ้น การจัดหาที่อยู่อาศัยให้สำหรับผู้ลี้ภัย ด้วยการทำงานร่วมกับทีมกิจการบริษัทในวอชิงตันนดีซี ธุรกิจธัญพืชและพืชน้ำมันของคาร์กิลล์ได้จัดเตรียมรถพ่วงและบ้านเคลื่อนที่ 51 คันจาก FEMA เพื่อใช้เป็นบ้านชั่วคราวสำหรับบรรดาพนักงาน มีการจัดส่งรถพ่วงบางคันไปยังบ้านของเหล่าพนักงาน ขณะที่จัดให้คนอื่นๆ พักแถวศูนย์ส่งออกเวสท์วีโก องค์กรต่างๆ เช่น Living Lands & Waters ซึ่งเป็นหุ้นส่วนของคาร์กิลล์มาเป็นระยะเวลานาน ได้ช่วยเรื่องการทำความสะอาดและการฟื้นฟู “จิตวิญญาณและความพยายามของพนักงานที่ต้องย้ายถิ่นฐาน เป็นสิ่งที่แทบจะอธิบายเป็นคำพูดไม่ได้” ริค แคลฮาวน์ ประธานของธุรกิจ Cargo Carriers ของคาร์กิลล์กล่าว “สิ่งนี้ร่วมกับความเห็นอกเห็นใจและพลังงานของทีม ซึ่งสละหน้าที่การงานและชีวิตปกติของตนเป็นระยะเวลาหลายเดือนเพื่อช่วยทำให้สิ่งต่างๆ ในหลุยส์เซียนา ‘กลับสู่สภาพปกติ’”

“จิตวิญญาณและความพยายามของพนักงานที่ต้องย้ายถิ่นฐาน เป็นสิ่งที่แทบจะอธิบายเป็นคำพูดไม่ได้”
—ริค แคลฮาวน์ ประธาน Cargill Cargo Carriers

เพื่อช่วยเหลือเหล่าพนักงานที่ไม่สามารถเข้าถึงบัญชีธนาคารของตนได้ เนื่องจากการสื่อสารโทรคมนาคมและไฟฟ้าเกิดการขัดข้อง คาร์กิลล์จึงได้จัดตั้งกองทุนเพื่อบรรเทาภาวะฉุกเฉินสำหรับพนักงานขึ้น เงินทุนเหล่านี้ได้ถูกแจกจ่ายไปยังบรรดาพนักงานตามความรุนแรงของการสูญเสียของพวกเขา

เกือบหนึ่งเดือนหลังจากเกิดพายุเฮอร์ริเคนแคททรีนา ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้เขียนจดหมายขอบคุณไปยังคาร์กิลล์ มีข้อความว่า “ความพยายามที่ดีต่างๆ ของคาร์กิลล์ ได้แสดงให้เห็นถึงบุคลิกลักษณะและความเข้มแข็งอันยิ่งใหญ่ของชาติของเรา” 

Natural Disasters Inpage จดหมายจากประธานธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ของสหรัฐอเมริกาเพื่อเป็นการขอบคุณคาร์กิลล์สำหรับการทำงานหนักเมื่อเหตุพายุผ่านไป ยังคงแขวนไว้ที่สำนักงานของ ริค แคลฮาวน์ ในปัจจุบัน

การตอบสนองต่อพายุเฮอร์ริเคนแคททรีนาคือตัวอย่างหนึ่งของความตั้งใจอันดีและการทำงานเป็นทีมของคาร์กิลล์เมื่อต้องเผชิญหน้ากับภัยทำลายล้าง โครงการบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติของบริษัทซึ่งถูกจัดตั้งเป็นครั้งแรกหลังเหตุการณ์สึนามิในประเทศอินโดนีเซียเมื่อปี 1990 ยังคงให้การบรรเทาในทันทีและในระยะยาวในเหตุการณ์หลังภัยพิบัติทางธรรมชาติทั่วโลก

ในฤดูใบไม้ผลิของปี 2011 ได้เกิดความเสียหายในวงกว้างขึ้นอีกครั้งในอีกซีกโลกหนึ่ง เกิดเหตุคลื่นสึนามิและแผ่นดินไหวถล่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศญี่ปุ่น ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 16,000 ราย และสร้างความเสียหายเป็นมูลค่า 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ การบริจาคของคาร์กิลล์เพื่อบรรเทาภัยพิบัติในพื้นดังกล่าวได้ถูกใช้เพื่อจัดส่งเสบียงอาหารไปยังศูนย์อพยพและหน่วยงานสังคมสงเคราะห์ ในปี 2014 คาร์กิลล์ได้ประกาศถึงการบริจาคเพิ่มเติมไปยังสภากาชาดแคนาดา เพื่อช่วยเหลือเหยื่อผู้ประสบภัยน้ำท่วมรุนแรงในจังหวัดที่เป็นพื้นที่ทุ่งหญ้าใน มานิโตบา และ ซัสแคตเชวัน

คาร์กิลล์ยังคงเข้าร่วมในความพยายามต่างๆ เพื่อฟื้นฟูสภาพหลังเกิดวิกฤตเช่นนี้ และแสดงให้เห็นถึงพันธะสัญญาของบริษัทที่มีต่อชุมชนผ่านทางงานอาสาสมัคร การให้การสนับสนุนด้านการเงิน และความร่วมมือที่เข้มแข็ง