skip to main content

เมื่อคาร์กิลล์ซื้อบริษัทคู่แข่ง Taylor & Bournique ในทศวรรษ 1920 คาร์กิลล์ได้ซื้อระบบโทรพิมพ์ที่ล้ำสมัยของบริษัทนี้มาด้วย

ระบบโทรพิมพ์ติดตั้งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ของคาร์กิลล์มีห้องที่พนักงานปฏิบัติการเก็บข้อความขาเข้าและขาออก

แจ็ค คาร์ลสัน ผู้เชี่ยวชาญการบำรุงรักษาโทรพิมพ์ ควบคุมระบบ ตรวจสอบระยะเวลาการใช้สายข้อมูลและบันทึกรูปแบบการรับส่งข้อมูล

เจ้าหน้าที่ห้องสมุดสำหรับวิจัยของคาร์กิลล์ถือกระดาษเก้าฟุตที่แสดงการโต้ตอบที่ยาวที่สุดของโทรพิมพ์ในเวลานั้น

โทรพิมพ์ทำให้การตัดสินใจรวดเร็วและเฉียบแหลมมากขึ้น 

โทรพิมพ์เป็นเทคโนโลยีในยุคก่อนที่จะมีอีเมลและการส่งข้อความ ระบบโทรพิมพ์ในยุคนั้นของคาร์กิลล์ทำให้การสื่อสารระหว่างสำนักงานรวดเร็วขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ

January 01, 2015

ในปี 1923 คาร์กิลล์เข้าซื้อบริษัท Taylor & Bournique คู่แข่งหลักด้านธัญพืชซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองมิลวอกี รัฐวิสคอนซิน หลังจากต่อสู้กับผลจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามและการตัดสินใจทางธุรกิจที่ผิดพลาดหลายครั้งต่อเนื่องกัน บริษัท T&B ได้เลิกกิจการก่อนหน้านั้นหนึ่งปีและกำลังหาทางออก เมื่อทราบว่าคาร์กิลล์สนใจสินทรัพย์ของบริษัท รองประธานบริษัทจึงไปหาจอห์น แมคมิลลาน ซีเนียร์ ประธานบริษัทคาร์กิลล ์พร้อมกับข้อเสนอครั้งใหญ่ในราคาไม่แพง: นอกจากกิจการเพาะปลูกในเมืองมิลวอกี นิวยอร์ก และบัฟฟาโลแล้ว บริษัท T&B ยังขายระบบโทรพิมพ์ Clement-Curtis ที่ล้ำสมัย ช่วยให้บริษัทมีศักยภายเพิ่มขึ้นอีกระดับหนึ่ง

ระบบสายสัญญาณสำหรับสื่อสารภายในบริษัทใช้ช่องทางต่างๆ เพื่อส่งข้อความได้โดยเกือบจะทันทีไปยังสำนักงานใหม่ต่างๆ ของคาร์กิลล์ที่อยู่ทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกา จอห์น ซีเนียร์ประทับใจในเทคโนโลยีนี้ และได้ดำเนินการเพื่อขยายสายสัญญาณไปยังสำนักงานใหญ่ของบริษัทที่เมืองมินนีแอโพลิส รัฐมินนิโซตา นี่เป็นคำตอบของความต้องการในการสื่อสารที่เป็นเอกลักษณ์ ทั้งความเร็ว ความแม่นยำ การรักษาความลับ และมีต้นทุนต่ำ และยังเป็นระบบสื่อสารหลักในอีก 70 ปีต่อมา

ในปี 1935 ห้องโทรพิมพ์ของสำนักงานที่เมืองมินนีแอโพลิสมีพนักงานปฏิบัติการหกคนคอยจัดการข้อมูลขาเข้าและขาออกกับผู้ติดต่อในบอสตัน ชิคาโก มอลทรีออล โอมาฮา วินนิเพก และเมืองอื่นๆ พร้อมกัน ในอีกห้องหนึ่ง ระบบส่งข้อความด้วยท่อลมส่งต่อเอกสารที่พิมพ์ข้อความที่เกี่ยวข้องไปยังห้องค้าโดยตรง ความสามารถในการสื่อสารได้ทันทีระหว่างสำนักงานและภูมิภาคสำคัญได้กลายเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันที่แข็งแกร่งที่สุดของบริษัท

“ระบบโทรพิมพ์เป็นสิ่งมหัศจรรย์ มันช่วยให้เราอยู่ในตำแหน่งที่เราไม่เคยอยู่มาก่อนในอดีต”
— จอห์น แมคมิลลาน ซีเนียร์ ประธานบริษัทคาร์กิลล์กล่าว

ในเวลาต่อมา การแลกเปลี่ยนที่สะดวกและรวดเร็วนี้เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดชวเลขภายในบริษัท ที่รู้จักกันว่ารหัสอักษรย่อสำหรับส่งข้อความภายใน Cargill บริษัทผลิตคู่มือการใช้งานให้แก่พนักงานที่ใช้โทรพิมพ์ ซึ่งรวมถึงรายการอักษรย่อมาตรฐาน เช่น: LSM (ธัญพืชลินซี้ด), CXLN (การยกเลิก), และคำที่อาจเป็นที่นิยมที่สุดคือ TREAD (โปรดตอบทางโทรพิมพ์โดยเร็ว)

Introducing Teletype Inpage การสื่อสารผ่านโทรพิมพ์รวดเร็วและมีประสิทธิผลเนื่องจากภาษาชวเลขของคาร์กิลล์ ซึ่งใช้งานตั้งแต่ข้อความบันทึกทางธุรกิจไปจนถึงคำสั่งในห้องค้า

หกสิบปีหลังจากติดตั้ง การระบบโทรพิมพ์ก็ค่อยๆ ล้าสมัย ในปี 1983 ผู้ค้าของคาร์กิลล์หลายรายประกาศว่าพวกเขาใช้ "เครื่องเทอร์มินอลวิดีโอรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์" ซึ่งเป็นรูปแบบอีเมลในยุคเริ่มแรก สิบปีต่อมา คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น แต่คาร์กิลล์เลือกใช้ระบบโทรพิมพ์ต่อไป เนื่องจากบริษัทได้ลงทุนปรับปรุงเทคโนโลยีใหม่ ด้วยสมรรถนะสูงและมีความน่าเชื่อถือของระบบโทรพิมพ์ ทำให้คาร์กิลล์เลื่อนเวลาการใช้อีเมลเต็มรูปแบบออกไป เนื่องจากจุดแข็งของระบบเดิม

ในปี 1996 โทรพิมพ์ข้อความสุดท้ายของบริํษัทถูกส่งออกไปก่อนที่เครื่องจะออฟไลน์ อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบันนี้ สิ่งที่หลงเหลือของระบบโทรพิมพ์ดั้งเดิมยังคงปรากฏให้เห็น พนักงานที่ทำงานที่คาร์กิลล์ก่อนที่เริ่มใช้อีเมลยังคงพูดถึงอีเมล "โทรพิมพ์" กันอยู่ และยังคงใช้รหัสอักษรย่ออย่างเหนียวแน่น เสมือนเป็นส่วนหนึ่งของคำศัพท์ของคาร์กิลล์ไปแล้ว

หลายทศวรรษก่อนที่จะมีการส่งข้อความทางโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างในปัจจุบัน คาร์กิลล์สื่อสารด้วยทางลัดและตัวย่อ ทำให้การตัดสินใจรวดเร็วขึ้นและสื่อสารกับพนักงานทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งหมดนี้ทำให้การบริการคู่ค้าและลูกค้าดียิ่งขึ้น