skip to main content

การกู้คืนชีวิตสัตว์ป่าให้แก่แม่น้ำดานูบ 

เมื่อประเทศฮังการีต้องการความช่วยเหลือในการนำเอาพืชและสัตว์ประจำถิ่นกลับคืนเกาะซาบ๊าดแสก คาร์กิลล์จึงร่วมงานกับองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล

January 01, 2015

ที่ราบแม่น้ำท่วมถึงที่ต่อกับแม่น้ำในประเทศฮังการีเป็นที่อยู่อาศัยของบรรดาสัตว์ป่าประจำถิ่น และเป็นสถานที่ยอดนิยมสำหรับกิจกรรมกลางแจ้งต่างๆ แต่ตลอดช่วงหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา 94% ของผืนดินแห่งนี้กลับหายไป เพื่อเป็นการผลักดันสู่การอนุรักษ์ คาร์กิลล์กับองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ร่วมมือกันช่วยฟื้นสภาพเกาะซาบ๊าดแสกซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีความสำคัญ

เกาะซาบ๊าดแสกหรือที่เรียกกันว่าเกาะแห่งเสรีภาพ คือเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในแม่น้ำดานูบและนั่งเรือเฟอร์รี่ไปไม่ไกลจากท่าแม่น้ำแห่งหนึ่งที่ใช้ลำเลียงธัญพืชและพืชน้ำมันของคาร์กิลล์ในประเทศฮังการี ปัญหาของเกาะนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 1982 เมื่อมีการสร้างเขื่อนหินขวางทางน้ำ เกิดเป็นโคลนเต็มเส้นทางที่แม่น้ำไหลผ่าน ทำให้มีพืชต่างถิ่นค่อยๆ ทยอยเข้ามาเติบโตในบริเวณที่มีพืชตามธรรมชาติ คาร์กิลล์จึงลุกขึ้นสู้กับความท้าทายเมื่อเล็งเห็นถึงโอกาสที่จะให้ความช่วยเหลือ ด้วยความรู้สึกรับผิดชอบที่มีต่อแม่น้ำซึ่งมีความสำคัญต่อธุรกิจท้องถิ่นของบริษัท

ในปี 2011 บริษัทบริจาคเงินจำนวน 56,500 เหรียญสหรัฐฯ เพื่อกำจัดโคลนออก ขนย้ายท่อส่งน้ำ เปิดเขื่อน ลดปริมาณพืชต่างถิ่น และปลูกป่าขึ้นใหม่ด้วยพืชประจำถิ่นตามธรรมชาติ พนักงานของคาร์กิลล์สละเวลาของพวกเขา เดินทางมาจากทั่วประเทศเพื่อภารกิจนำเอาขยะและพืชต่างถิ่นออกไปจากพื้นที่.

“เรารู้สึกถึงความรู้สึกรับผิดชอบเพื่อให้แน่ใจว่า[แม่น้ำดานูบ]จะกลับมามีชีวิตชีวาและมีสภาพสมบูรณ์ขึ้นอีกครั้ง”
— ซาโบลค์ส มาไค แกนนำประเทศ
บริษัท Cargill Grain & Oilseed Supply Chain ยุโรป

ผลจากความพยายามเหล่านี้ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะซาบ๊าดแสกฟื้นสภาพขึ้นในปัจจุบัน ป่าพืชประจำถิ่นขึ้นเต็มพื้นที่ และสัตว์ต่างๆ เช่น นกแบล็คไคต์ บีเวอร์และปลาสายพันธุ์ยุโรปซึ่งเป็นสัตว์ที่ชื่นชอบน้ำไหลกลับมาปรากฎให้เห็นอีกครั้ง นอกจากนั้น คาร์กิลล์และองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลได้พัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่บริเวณนั้น เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำให้แก่ผู้คนกว่า 20 ล้านคนที่ต้องการน้ำดื่มที่สะอาดและปลอดภัย