skip to main content

การแก้ไขช่องว่างความสำเร็จ

โครงการทุนการศึกษาของคาร์กิลล์มุ่งเน้นที่นักเรียนด้อยโอกาสทางสังคมและเศรษฐกิจของรัฐมินนิโซตา โดยช่วยให้พวกเขาเติบโต

January 01, 2015

“ช่องว่างของความสำเร็จ” หมายถึงความแตกต่างด้านการศึกษาระหว่างกลุ่มของนักเรียน ที่บ่อยครั้งวัดผลโดยคะแนนสอบ และอัตราการสำเร็จการศึกษา ความเหลื่อมล้ำในผลการศึกษาและคะแนนสอบเป็นผลของหลายปัจจัย ทั้งเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ภาษา และรายได้ครอบครัว ข้อใดข้อหนึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการประสบความสำเร็จในโรงเรียนของนักเรียน

ในรัฐมินเนโซตา และโดยเเฉพาะในมหานครมินนีแอโพลิส เขตเซนต์พอล ช่องว่างความสำเร็จระหว่างนักเรียนผิวขาวและนักเรียนชนกลุ่มน้อยนั้นกว้างมาก นักเรียนผิวขาวมีคะแนนมากกว่าเพื่อนร่วมชั้นผิวสี ลาตินอเมริกัน และอินเดียนอเมริกันอย่างต่อเนื่องในการทดสอบวิชาคณิตศาสตร์และการอ่านของรัฐ อัตราการสำเร็จการศึกษาสำหรับเด็กนักเรียนชนกลุ่มน้อยในมินเนโซตาอยู่ในอันดับต่ำเกือบที่สุดของประเทศ

เพื่อช่วยลดช่องว่างความสำเร็จและสร้างทำความเข้าใจกับสาเหตุของช่องว่างนั้นดียิ่งขึ้น มูลนิธิคาร์กิลล์ได้ริเริ่มโครงการทุนการศึกษาคาร์กิลล์ในปี 2001 เด็กๆ ห้าสิบคนจะได้รับเลือกเพื่อเข้าร่วมหลังจากที่ได้รับการระบุและแนะนำโดยครูและผู้บริหารในท้องถิ่น การริเริ่มที่ครอบคลุมเป็นระยะเวลาเก้าปีได้รับการออกแบบมาเพื่อพัฒนาผลการศึกษาทางวิชาการของนักเรียน โดยเพิ่มความคาดหวังทางการศึกษา ป้องกันพฤติกรรมก่อกวน และพัฒนาทักษะการใช้ชีวิต เริ่มต้นโดยการสอนและให้คำปรึกษาครอบครัวในชั้นประถมปีที่สี่ โครงการยังดำเนินต่อไปถึงชั้นมัธยมปีที่สาม ที่ซึ่งนักเรียนย้ายเข้าสู่โครงการชักชวนเข้ามหาวิทยาลัยที่ชื่อเดสติเนชั่น 2010 หลักจากเสร็จสิ้น นักเรียนเหล่านั้นมีสิทธิ์ได้รับทุนการศึกษาสูงถึง 10,000 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับการศึกษาหลังชั้นมัธยม

ในระหว่างปีนำร่องของโครงการคาร์กิลล์ได้เน้นการให้นักเรียนและครอบครัวมีส่วนเกี่ยวข้องกับทุกแง่มุมของการศึกษาอยู่ตลอด ผู้สอนทางวิชาการ ทัศนศึกษานอกสถานที่ และการเรียนดนตรี ช่วยให้นักเรียนกระตือรือร้นทั้งในและนอกโรงเรียนอยู่ตลอด และครอบครัวจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการอยู่ร่วมกับประสบการณ์ในโรงเรียนของเด็กๆ โดยการทำงานร่วมกับบิ๊กบราเธอร์ส บิ๊กซิสเตอร์ส ในเมืองมินนีแอโพลิส พนักงานของคาร์กิลล์จำนวนมากทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำแนะนำแก่นักเรียนทุน 50 คนในโครงการของคาร์กิลล์ ร่วมเดินทางกับนักเรียนในการทัศนศึกษานอกสถานที่ และช่วยนักเรียนเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย

เพื่อวัดผลกระทบของการริเริ่มของคาร์กิลล์ ศูนย์การวิจัยไวล์เดอร์ได้ติดตามกลุ่มนักเรียนนำร่องตลอดโครงการ ตั้งแต่วันแรกในปี 2001 จนจบการศึกษาชั้นมัธยม การวิจัยแสดงให้เห็นว่าทุนการศึกษาของคาร์กิลล์ได้เพิ่มความสนใจในกิจกรรมทางวิชาการและกิจกรรมนอกหลักสูตรการศึกษาให้สูงขึ้น และพัฒนาทักษะทางสังคมกับเพื่อนและผู้ใหญ่ ผู้ที่สำเร็จจากโครงการนี้ถึง 69% เข้าศึกษาต่อหลังชั้นมัธยม ดีกว่าค่าเฉลี่ย 49% จากพื้นที่เดียวกัน

ปัจจุบัน มูลนิธิคาร์กิลล์สนับสนุนการริเริ่มคล้ายกันนี้ที่มุ่งไปที่การพัฒนาความสำเร็จทางวิชาการสำหรับนักเรียนที่ด้อยโอกาสในพื้นที่มหานครมินนีแอโพลิส การได้ทราบว่านักเรียกจะเรียนรู้ได้ดีขึ้นในโรงเรียน เมื่อได้ทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน บริษัทจึงได้ปรับเปลี่ยนมุ่งเน้นไปยังโครงการเงินทุนที่สนับสนุนโภชนาการในวัยเด็กตอนต้นแก่เด็กตั้งแต่ก่อนอนุบาลจนถึงประถมปีที่หก ปัจจุบัน มูลนิธิคาร์กิลล์ได้ให้ความช่วยเหลือประมาณ 8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทุกปีแก่องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ดูแลชุมชนรอบๆ สำนักงานใหญ่ของคาร์กิลล์ 

โครงการทุนการศึกษาของคาร์กิลล์ได้ส่งเสริมนักเรียนที่เป็นชนกลุ่มน้อยของมินเนสโซตาเอาชนะอุปสรรคทางการศึกษา โดยให้ผู้ปกครองและผู้ให้คำปรึกษามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้